พารู้ทัน ฮีทสโตรก ในสัตว์เลี้ยง ภัยเงียบที่มากับหน้าร้อน อาการเป็นอย่างไร
2 มีนาคม 2568 หลังจาก กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ในวันที่ 28 ก.พ. 2568 นั้น ทีมข่าว “เนชั่นทีวี” ขอพาไปรู้เท่าทัน หรือ “โรคลมแดด” ในสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นภัยเงียบ ที่มักพบในหน้าร้อนบ่อยๆ และหากเกิดอาการช็อกแล้วไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพื่อป้องกันการสูญเสียสัตว์เลี้ยง ที่เปรียบเสมือนเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว เรามาทำความรู้จักกับ ในสัตว์เลี้ยงกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก โรงพยาบาลสัตว์ HOSPETAL และ สัตวแพทย์ประจำคลินิกแมว โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ อธิบายเกี่ยวกับ ในสัตว์เลี้ยงไว้ว่า “โรคลมแดด” หรือ (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง เป็นภาวะที่ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ทันท่วงที ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ คือ สูงกว่า 41 องศาเซลเซียส จึงทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ไปกระทบต่อการทำงานต่างๆ ของระบบร่างกายโดยเฉพาะ “สุนัข” และ “แมว” สัตว์เลี้ยงยอดนิยม โดยปกติ พวกเขาจะมีต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้าและจมูกเท่านั้น การระบายความร้อนจึงต้องอาศัยการหายใจและการหอบเป็นหลักดังนั้น หากอุณหภูมิในร่างกายพวกเขาสูงขึ้น จนระบายความร้อนไม่ทัน จะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ เกิดความผิดปกติต่อการเต้นของหัวใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ตับ ไต ตลอดจนเกิดภาวะ ชัก มึน งง อาเจียน ท้องเสียเป็นเลือด
อาการที่บ่งบอกภาวะ “ฮีทสโตรก” ในสัตว์เลี้ยง
- อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส หรือ 106 องศาฟาเรนไฮต์
- มีอาการหอบ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หรือหายใจรุนแรงกว่าปกติ
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเต้นผิดจังหวะ
- น้ำลายไหล จมูกและปากเปียก
- เหงือกสีแดงเข้ม
- มีอาการชัก กล้ามเนื้อสั่นเกร็ง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด
ทั้งนี้ อาการ ในสัตว์เลี้ยง มักจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนจัดและมีความชื้นสูง ดังนั้น เจ้าของต้องคอยหมั่นสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตัวเอง
เกิดขึ้นได้ในสัตว์เลี้ยงทุกชนิด
อาการ ในสัตว์เลี้ยง สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและเกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกฤดูกาล เพียงแต่จะมีความเสี่ยงมากในพื้นที่อบอ้าวอากาศถ่ายเทไม่ดี หรืออากาศร้อนจัดและมีความชื้นสูง ส่วนปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าว อย่างสัตว์เลี้ยงที่มีโรคประจำตัว เช่น สัตว์เลี้ยงที่ป่วยในกลุ่มโรคหัวใจ โรคอ้วน โรคหลอดลมตีบ และภาวะอัมพาตกล่องเสียง ฯลฯ ที่สำคัญอีกอย่าง คือ ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ในสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ซึ่งจากสถิติจะพบได้บ่อยในสุนัขมากกว่าแมว โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์ที่ขนยาว ขนหนา พันธุ์หน้าสั้น รวมถึง กลุ่มสัตว์เลี้ยงที่มีหน้าสั้น
วิธีปฐมพยาบาล “ฮีทสโตรก” ในสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น
หากสัตว์เลี้ยงเราเกิดภาวะ เราสามารถช่วยปฐมพยาบาลให้กับเขาได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องทำคือ การระบายความร้อนจากร่างกายให้ลดลง แต่อย่าให้ลดลงเร็วจนเกินไป เพราะจะเป็นอันตรายแทน โดยสัตวแพทย์ได้แนะนำแนวทางไว้ดังนี้
- ถ้าสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในที่อากาศร้อน สถานที่แออัด ควรนำสัตว์เลี้ยงออกมายังบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และปลดสิ่งที่พันธการออก ทั้งปลอกคอ สายจูง หรือเสื้อผ้าของเขา เพื่อให้การหายใจสะดวกขึ้น และช่วยระบายความร้อน
- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว และบริเวณจุดอับต่างๆ อาทิ รักแร้ ขาหนีบ หรือใต้ฝ่าเท้า เพื่อช่วยระบายความร้อนอีกทาง ระมัดระวังอย่าใช้น้ำที่เย็นจนเกินไป เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอาการช็อกได้ ทางที่ดีควรใช้น้ำที่อุณหภูมิห้องจะดีที่สุด
- นวดบริเวณขาเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
- เมื่อปฐมพยาบาลเสร็จแล้ว ควรรีบนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาล เพื่อให้สัตวแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างละเอียด
เปิดปัจจัยเสี่ยง รู้ไว้ก่อน ป้องกันได้
เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ ในสัตว์เลี้ยง โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ
- ห้ามทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ในรถ หรือสถานที่ไม่มีที่ระบายอากาศ เพราะแม้จะอยู่ในสภาพอากาศที่ไม่ร้อนมาก ก็สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ ได้
- ไม่พาสุนัขออกกำลังกาย หรือวิ่งเล่นเป็นเวลานาน หากสุนัขดูหอบมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเริ่มแรกของ
- หลีกเลี่ยงให้สุนัขอยู่ในสภาพอากาศชื้น รวมทั้ง หลีกเลี่ยงให้สัตว์เลี้ยงไปอยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและอากาศถ่ายเทไม่ดี เพราะจะไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้
- ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงนอนแช่ในน้ำเย็นจัดๆ หรือน้ำที่มีน้ำแข็งแช่ เนื่องจากจะทำให้อุณหภูมิร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน ควรให้เขาได้ดื่มน้ำเย็น หรือน้ำใส่น้ำแข็ง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกายและคลายร้อนแทน catcamthemovie