เปิดแผนการตัดต่อพันธุกรรมชุบชีวิต ช้างแมมมอธ หลังประสบความสำเร็จในการผลิตหนูขนปุยได้สำเร็จ ความสำเร็จในด้านพันธุวิศวกรรมที่ทำให้เกิดหนูขนยาว อาจช่วยให้สักวันในอนาคตเราสามารถให้กำเนิดช้างที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมให้มีขนยาว และเพิ่มประชากรพวกมันในแถบอาร์ติกได้ นี่ยังสามารถมีส่วนช่วยในการยุติภาวะโลกร้อนได้ด้วย คำกล่าวอ้างที่น่าตื่นเต้นของบริษัท คอลอสซอล ไบโอไซเอนส์ (Colossal Biosciences) ของสหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอังคารที่แล้ว ระบุว่า บริษัทสามารถสร้างหนูขึ้นมาในลักษณะคล้ายคลึงกับช้างแมมมอธได้สำเร็จแล้ว และเป้าหมายสูงสุดของบริษัทแห่งนี้คือการใช้เทคนิคด้านพันธุวิศวกรรมในการสร้างสิ่งมีชีวิตคล้ายกับช้างแมมมอธขึ้น ซึ่งมันจะสามารถช่วยหยุดการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) ในแถบอาร์กติกได้หลังจากการประกาศดังกล่าว บริษัทต้องรับคำวิพากษ์วิจารณ์แบบไม่หวาดไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็นคำวิจารณ์ว่าการสร้างสิ่งมีชีวิตคล้ายช้างแมมมอธด้วยวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเป็นเรื่องยากกว่าการสร้างหนูขนยาวมาก รวมถึงคำวิจารณ์ว่านี่อาจมีปัญหาด้านจริยธรรม ไปจนถึงคำกล่าวว่าโครงการทั้งหมดนี้เป็นการเรียกความสนใจจากสาธารณชนอย่างไรก็ตาม บริษัทรายนี้ระบุว่าพวกเขาถูกเข้าใจผิด และชี้ว่าหนูเหล่านี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูสิ่งที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติบนโลกใบนี้ไปแล้วได้คอลอสซอล ไบโอไซเอนส์ กล่าวว่า การทดลองดังกล่าวกันหนูขนยาวถือเป็นก้าวย่างสำคัญที่จะทำให้เกิดการดัดแปลงทางพันธุกรรมในช้างเพื่อให้พวกมันมีขนยาวและสามารถอาศัยอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้ …